ESD BOOKING (Electrostatic Discharge)

Table of Contents

Electrostatic Discharge: ไฟฟ้าสถิตในงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลอะไรกับอุปกรณ์ที่เปราะบาง เสียหายง่าย หรือ จะเรียกว่าอุปกรณ์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต ESD Sensitive Device

คุณสมบัติ อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต ที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายที่นำมาใช้งานสำหรับการป้องกันไฟฟ้าสถิตนั้น โดยจะมีหลายประเภท หลายชนิด ผู้เขียนขอรวบรวมหลักๆ ที่ใช้งานในปัจจุบันสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่นำมาในงานสำหรับห้อง Clean Room (Semiconductor/PCBA/Assembly) หรือ ยานยนต์ เนื้อหาหลักๆ จะมีทั้งหมด 11 ห้วข้อ ดังต่อไปนี้

1.1 ESD MAT (Worksurface)            

1.2 FOOTWEAR                  

1.3 WRIST STRAP              

1.4 GLOVE              

1.4.1 CONDUCTIVE   

          1.4.2 DISSIPATIVE    

          1.4.3 NITRILE

                     a. Nitrile Examination Gloves

                     b. Vinly Examination Gloves

                     c. Latex Examination Gloves

                     d. Synthetic Examination Gloves

1.5 GARMENT          

1.6 ANTI-STATIC PACKAGING                  

1.7 SHIELDING BAG            

1.8 FLOORING                   

1.9 MOBILE EQUIPMENT               

1.10 IONIZER           

1.11 ESD PACKAGING

1.1 ESD MAT (Worksurface)                  

เรามาเรียนรู้กัน ในแต่ละประเภท และ ลักษณะหน้าตา รวมถึง คุณสมบัติ การทำงาน ในแต่ละประเภททีละข้อกันอย่างละเอียด ดังต่อไปนี้

รูปตัวอย่าง ESD MAT (Worksurface)

ลักษณะ : ESD MAT (Worksurface) ซึ่งที่จริงแล้วแผ่น ESD MAT ไม่ได้มีสีเขียวสีเดียว จะมีผลิตออกมาจำหน่ายหลายสี เช่น สีฟ้า สีน้ำตาล สีเทา ก็มี เป็นต้น แต่ที่พบเห็น หรือเป็นที่นิยมใช้งานแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเลือก เป็นสีเขียวกันเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดก็ว่าได้ ส่วนสีอื่น มีนำมาใช้งานบ้างแต่ก็ไม่เยอะ ถ้าไม่ใช้สีเขียวเพราะว่า โต๊ะนั้นอาจจะมีการใช้น้ำยาเคมี สีดำหรือลักษณะงานจะทำให้พื้นโต๊ะสกปรกได้ง่าย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่นใหม่บ่อยๆ ก็จะใช้สีอื่น เช่นสีเทา ส่วนสีอื่นที่ไม่ใช้สีเขียวก็มีใช้งานก็มีนะ ผู้เขียนพบเจอ จะใช้แผ่นสีฟ้าเป็นหลัก จะขอแชร์จากประสบการณ์ตรง ในสมัยที่ทำงานตำแหน่ง Engineering ในโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ในธุรกิจประเภท PCBA ได้ไปดูงานต่างประเทศที่ประเทศอเมริกา และ เม็กซิโก ซึ่งที่นั้นเค้าจะนำแผ่น ESD MAT (Worksurface) พื้นด้านบนสีฟ้า มาใช้ปูบนโต๊ะทำงาน ซึ่งสมัยนั้นได้คำตอบจากเพื่อนต่างแดน แต่ก็ต้องออกตัวก่อนว่าหากจะเป็นการแสดงความคิดเห็นจากคนอเมริกาที่ได้คุยกันเท่านั้น เค้าให้เหตุผลว่า ทางอเมริกาจะมีท้องฟ้า สีฟ้าคนที่นี้ ชอบสีฟ้า ผู้เขียนเอง แสดงความคิดเห็นไปว่า ทางเอเชียต้นไม้เยอะ ผู้คนที่ประเทศ I ชอบสีเขียว เวลานั่งทำงานสบายตา เลยเลือกสีเขียวมาใช้งาน ดังนั้นการเลือกสีแผ่น ESD MAT จริงๆ แล้วไม่มีกำหนด Requirements ที่เฉพาะ จะต้องใช้สีใด เป็นข้อกำหนด ดังนั้นเพื่อให้ส่อดคล้อง ผู้เขียนแนะนำใช้สีเขียว

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: การผลิตแผ่น ESD MAT (Worksurface) จะมี 2ชั้น (2 Layers) ที่นำมาปูโต๊ะเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตทำจากวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตและยางสังเคราะห์ ชั้นผิวเป็นชั้น 2ชั้นเพื่อสลายไฟฟ้าสถิต เช่น ชั้นบนหนา 0.5 มม. ชั้นล่างเป็นชั้นนำไฟฟ้าสีดำหนา 1.5 มม. โดยทั่วไปจะใช้โครงสร้างสองชั้นหนา 2 มม. สีที่มีจำหน่าย ได้แก่ สีเขียว สีเทา สีฟ้า สีดำ และอื่นๆ แผ่นป้องกันไฟฟ้าสถิตได้รับการออกแบบมาเพื่อสลายประจุโดยต่อจุดเชื่อม Ground จากคนที่สัมผัสพื้นที่ที่นั่งทำงาน หรือกล่องที่วางบนพื้นโต๊ะ, ส่วนประกอบและอื่น ๆ โดยไม่เป็นอันตรายอุปกรณ์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต เป็นต้น

คุณสมบัติ : ไม่ได้รับผลกระทบจากความชื้น ทนต่อการเสียดสี สารเคมี และ ทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย ส่วนคุณสมบัติการสลายไฟฟ้าสถิตจะมีรายละเอียดดังนี้

  • ชั้นบน เช่นสีเขียว จะมีคุณสมบัติชนิดตัวนำ Dissipative Material ค่าความต้านทานจะสูงกว่า (>1.0×104 to <1.0×1011 ohms)
  • ชั้นล่าง ส่วนใหญ่สีดำ จะมีคุณสมบัติชนิดตัวนำ Conductive Material ค่าความต้านทานจะต่ำกว่า (<1.0×104 ohms)

หลักการทำงาน ทำไมต้องออกแบบเป็น 2ชั้น (2 Layers) และ เหตุผลใด ทำไมต้องให้ชั้นบน ค่าความต้านทานสูงกว่าชั้นล่าง

  1. เมื่อไฟฟ้าสถิตไหลผ่านชั้นบน Dissipative ซึ่งมีค่าความต้านทานสูงกว่า เพราะหลักการหรือกฏความต้านทาน โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลไปที่ค่าความต้านทานต่ำกว่า ดังนั้นไฟฟ้าสถิตจะไหลต่อผ่านสีดำด้านล่าง จะทำให้ไฟฟ้าสถิต ไม่ย้อนกลับไปด้านบน หรือไปที่ชิ้นงานได้
  2. หากใช้ชั้นเดียวที่ความหนา 2mm ในชนิด Dissipative อย่างเดียวจะทำให้ระยะเวลาสลายไฟฟ้าสถิตช้า (Discharge Time) เมื่อไฟฟ้าสถิตสะสม ในระยะเวลานานๆๆ จะทำให้การสลายลงกราว์ด ไม่ดี

รูปตัวอย่าง ESD MAT ชั้นบน(Dissipative) และ ชั้นล่าง(conductive)

ค่าความต้านทาน : ค่าความต้านทานบนพื้นผิว (Surface Resistance) ที่จริงแล้วค่าความต้านทานจะมีด้วยกัน 2 ประเภท อีกนะ คือ Surface Resistance Measurement and Volume Resistance Measurement (Resistivity)

          Conductive Resistance: < 1.0 X 104 Ohms

          Dissipative Resistance: > 1.0 X 104 to < 1.0 X 1011 Ohms

Note. ค่าที่นำมาแสดง อ้างอิงจาก table 4. Packaging Requirement s20.20-2021

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: การผลิตมาใช้งานนั้น ส่วนใหญ่ที่ทำมาจำหน่ายจะเป็นชนิด Rubber (ยาง) และ Vinyl (ไวนิล) ให้เลือกซื้อ ใช้งานตามความเหมาะสม

การนำไปใช้งาน: นำมาปูบนโต๊ะ ไม่ว่าจะพื้นฉนวน เช่นพื้นไม้ หรือ พื้นโต๊ะสแตนเลส การนำมาใช้งานวางบนโต๊ะและ อาจจะต้องมีการยึดติดกาวทาพื้นบนโต๊ะ และ นำแผ่น ESD MAT วางเพื่อการยึดติดแน่น และ เมื่อติดตั้งเรียบร้อย สิ่งที่จะต้องทำ คือ การ Bonding Ground (ข้อกำหนด 8.1 Bonding Requirement) โดยการนำ สาย Grounding Cord ยึดติดที่มุมโต๊ะ และ ต่อไปยังจุดกราวด์ร่วม Common Ground Point

ด้านล่างนี้ จะเปรียบเทียบการต่อสายกราวด์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สำหรับชั้นวาง เพราะสาเหตุอะไรบ้าง

  1. การจั้มสาย ไม่มีหางปลา ไม่ต่อเข้า Common Ground
  2. จุดต่อไม่เข้าที่ Common Ground ไปจั้มระหว่างสาย

1.2 FOOTWEAR (ESD Shoes) รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต ESD

ลักษณะ : รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต มีให้หลายใช้งานจะมีหลักๆ 2 ประเภท คือ

  • รองเท้า สำหรับ พนักงานปฏิบัติงาน (รองเท้า Clean Room)
    • รองเท้า สำหรับ ช่างซ่อมบำรุงปฏิบัติงาน (รองเท้า Safety)

คุณสมบัติ : รองเท้า Anti-static: รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตจะนำไฟฟ้าสถิตผ่านพื้นรองเท้า ซับใน พื้นรองเท้าชั้นนอก และบนพื้น ช่วยควบคุมการสะสมของประจุไฟฟ้าบนร่างกายของบุคคล และช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิตในที่ทำงาน

คุณสมบัติ : รองเท้า ESD Safety: มาใช้งาน ไม่ใช้เฉพาะห้อง Clean Room แต่บางโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการป้องกัน เรื่อง ไฟไหม้ ที่บริเวณ มีสารเคมี ไอระเหย ที่ติดไฟได้ ระเบิดได้ บริษัทเหล่านั้น จะนำรองเท้า ESD Safety มาให้พนักงานสวมใส่ ปฏิบัติงาน เช่นกัน

รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตใช้เพื่อลดการเกิดประกายไฟที่จุดไฟให้กับสารหรือไอระเหยที่ติดไฟได้

นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดไฟฟ้าช็อตจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่มีไฟฟ้า เป้าหมายคือเพื่อปกป้องผู้ที่สวมรองเท้านิรภัย (และเพื่อนร่วมงาน) จากอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของไฟฟ้าสถิต

สิ่งสำคัญก่อนเลือกซื้อรองเท้า Safety ชนิด ป้องกันไฟฟ้าสถิต คือต้องเข้าใจก่อนว่าอันตรายจากไฟฟ้าแรงดันสูงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นข้อกำหนดและมาตรฐานที่แตกต่างไปจากป้องกันไฟฟ้าสถิต (ESD) รองเท้าบู๊ทป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ากระแสสลับได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านรองเท้าและลงสู่พื้น โดยลดโอกาสที่ไฟฟ้าจะเกิดไฟฟ้าช็อต ตามมาตรฐาน ASTM F2413-11 พื้นผิวด้านนอกของพื้นรองเท้าและส้นรองเท้าไม่ควรทะลุผ่านส่วนประกอบที่นำไฟฟ้าใดๆ เช่น ตะปูที่ส้น

รองเท้า Safety ไฟฟ้านั้น คือ รองเท้าที่ทนต่อแรงดันจากไฟฟ้าจะต้องสามารถทน 18,000 โวลต์ที่ 60 Hz เป็นเวลา 1 นาทีโดยไม่มีกระแสไฟหรือการรั่วไหลเกิน 1.0 มิลลิแอมแปร์

รองเท้าบู๊ทป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ากระแส ไม่ได้มีไว้สำหรับเป็นแหล่งป้องกันหลักในสภาพแวดล้อมที่เกิดอันตรายจากไฟฟ้า ได้รับการออกแบบเพื่อใช้เป็นแหล่งป้องกันรอง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณตระหนักถึงมาตรฐานที่แตกต่างกันและประเภทของการป้องกันที่คุณต้องการเมื่อเลือกรองเท้านิรภัย

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:ข้อมูลมีไว้เพื่อเป็นแนวทางทั่วไปเท่านั้นและไม่ใช่คำแนะนำ ไม่ได้ใช้แทนการให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยเนื้อหาเป็นการแนะนำท่านต้องปรึกษากับหน่วยงานในบริษัทเพื่อพิจารณาประกอบเลือกใช้รองเท้าประเภทใด

เรามาดูตัวอย่างรองเท้าที่ใช้งานในห้อง Clean Room

ตัวอย่าง รองเท้าที่นำมาใช้งานในห้อง Clean Room

เรามาดูตัวอย่างรองเท้าที่ใช้งาน สำหรับรองเท้า ESD Safety

ตัวอย่าง รองเท้าที่นำมาใช้งาน ESD Safety และ รองเท้าความปลอดภัยไฟฟ้าแรงดันสูง

หมายเหตุ: รูปที่นำมาแสดงเป็นความรู้นำเสนอ ผู้เขียนได้นำมาจาก https://pulse.greenham.com/post/anti-static-electrostatic-discharge-esd-and-electrical-hazard/

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: การผลิตออกมาจำหน่ายในตลาด และ การนำมาใช้งาน ผู้เขียนขอยกตัวอย่างพร้อมแนะนำการ ใช้งานให้เหมาะสมดังนี้

พนักงานปฏิบัติงานในห้องคลีนรูม แนะนำแบบ Ani-static Dissipative Shoes ตัวอย่างด้านนี้

ตัวอย่าง รองเท้าที่นำมาใช้งานในห้อง Clean Room

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงาน แต่ใช้สำหรับ Visitor or Customer Audit เป็นต้น แนะนำใช้แบบรองแตะ

ตัวอย่าง รองเท้าแตะ ใช้งาน Visitor or Customer Audit

สำหรับช่างแผนกซ่อมบำรุง จะต้องเป็นชนิด Safety ต้องคำนึงถึงพื้นที่นั้นๆ มีไฟฟ้าแรงสูงหรือมั้ย ต้องประเมินความปลอดภัย ต่อพนักงงานปฏิบัติด้วย เพราะรองเท้า ESD จะนำไฟฟ้าได้

ตัวอย่าง รองเท้า ESD Safety

การนำไปใช้งาน: ส่วนใหญ่การใช้งาน จะนำมาใช้กับโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปสู่ อุตสาหกรรมอื่น เช่น Automotive เพราะปัจจุบันมีการพัฒนา นวัตกรรม ทำให้ยานยนต์มีเทคโนโลยีสูง และ ในอนาคตจะมี รถยนต์ไฟฟ้า EV เข้ามาขายสู่ตลาด เกิดการแข่งขันในเทคโนโลยี รถไฟฟ้าสูง ไปทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่งผลการภาคอุตสาหกรรมพัฒนา Development สายการผลิตให้สอดคล้องกับมาตราฐานการควบคุมไฟฟ้าสถิต ไม่แพ้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Semi-conductor, PCBA เลยก็ว่าได้ จากประสบการณ์ โดยตรง เดียวนี้ได้รับงานที่ปรึกษาให้โรงงาน Automotive มากขึ้น

เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิต รองเท้าชนิดฉนวน เพราะขณะเดิน จะเกิดไฟฟ้าสถิต เมื่อเราใช้เครื่องมือเฉพาะ มาทดสอบ เรียกขบวนการนี้ว่า Walking Test โดยมาตราฐานกำหนด ไม่ให้เกิน 100 Volts

1.3 WRIST STRAP (Personnel Grounding)

            ลักษณะ : สายรัดข้อมือ หรือที่เรียกกันตามมาตราฐานสากล คือ Wrist Strap ซึ่งการใช้งานจะเป็นการทำตามเงื่อนไข ของข้อกำหนด Personnel Grounding เพื่อเป็นการ Eliminate ประจุไฟฟ้าสถิตลงกราว์ด จากคน หรือ พนักงงานในขบวนการผลิต ยกตัวอย่างในการสลายไฟฟ้าสถิต อาทิเช่น ไฟฟ้าสถิตจาก ผิวหนังร่างกายคน เสื้อผ้า และ เส้นผม เป็นต้น

คุณสมบัติ : สายรัดข้อมือ (Wrist Strap) จะมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าสถิตลงกราว์ด โดยสายรัด หรือ

  • Wristband ด้านในสายจะมีคุณสมบัติเป็น Dissipative จะมีด้ายชนิด ESD เป็นตัวนำ และ มีจุดเชื่อมต่อสายกราว์ด Cord
  • Grounding Cord สายจะมีค่า Impedance 1 Ohm และ มีตัวต้านทานต่ออนุกรม (serial) ซึ่งตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมจะมีค่าความต้าน 1 MOhms ต่อพ่วงไว้ เพื่อเป็นการ Limit Current เพื่อความปลอดภัยต่อคน

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: การผลิตออกมาใช้งานจะมี 2 ชนิด ดังนี้

           Single Wrist Strap: แบบนี้จะสามารถสลายไฟฟ้าสถิต เส้นเดียวลงกราว์ด

ตัวอย่าง Wrist Strap แบบ “Single”

          Dual Wrist Strap: แบบนี้จะสามารถสลายไฟฟ้าสถิต แบบขนาน คือ มีสาย 2 เส้น จะทำให้ค่า

Discharge time ลงกราว์ดเร็วกว่า รวดเร็วกว่า เพื่อในอุตสาหกรรม ที่ไม่ใช้ธุรกิจประเภท HDD จะใช้แบบ Single ส่วนใหญ่ เนื่องจากต้นทุน และ การทำงานไม่ต้องการคุณภาพสูง เพราะ HDD ระดับความเสียหาย ESD Level จะไวมากๆๆ เช่น 1 Volt or 5 Volts ก็ส่งผลให้ชิ้นงาน Damage ได้จากระดับไฟฟ้าสถิตที่ 1 Volt Or 5 Volts และ ปลายเช็คเสียบจะเป็นแบบ Dual Connection

ตัวอย่าง Wrist Strap แบบ “Dual”

     การนำไปใช้งาน: การนำไปใช้งานทางผมเขียนจะแนะนำอุปกรณ์ เพิ่มเติมโดยการติดตั้งใช้งานจะต้องใช้อุปกรณ์ จุดต่อเชื่อมที่ได้มาตราฐาน ห้ามใช้การ ตัวหนีบเข้ากับสายกราว์ดที่ปลอกฉนวนออกและหนีบใช้งาน การทำแบบนี้จะไม่แน่นอนสำหรับการ Bonding อาจจะเกิดปัญหา Intermittent คือการไม่ต่อเนื่องในการเชื่อมต่อจะต้องเลือก กล่องที่นำมาใช้ Connect กับสาย Wrist Strap จะมี 2 ชนิด

  • แบบธรรมดา ไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบ
  • แบบตรวจสอบ การเชื่อมต่อ ตลอดเวลาใช้งาน (Continue Monitoring)

ตัวอย่าง Single Wrist Strap Connect Point

ตัวอย่าง Dual Wrist Strap Continuous ESD Monitor

หมายเหตุ: รูปที่นำมาแสดงเป็นความรู้นำเสนอ ผู้เขียนได้นำมาจากผลิตภัณฑ์ SCS

1.4 GLOVE ถุงมือชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิต

1.4.1 CONDUCTIVE   

1.4.2 DISSIPATIVE    

1.4.3 NITRILE

          a. Nitrile Examination Gloves

          b. Vinly Examination Gloves

          c. Latex Examination Gloves

          d. Synthetic Examination Gloves

ลักษณะ : ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ใช้กันนั้น จะใส่เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าที่ ผิวหนังที่มือ เพราะ ผิวหนังในร่างกายมนุษย์เรา จะเป็นทั้งฉนวน และ ตัวนำ ผู้เขียนขออธิบายแยกเป็นแบบนี้ คือ

  • กรณี เป็นฉนวน เมื่อไรก็ตามที่ ความชื้นสูง RH% (Relative HumidityRH%) จะทำให้

ผิวหนังเราแห้ง เมื่อผิวหนังแห้งจะทำให้ความต้านทานบนผิวหนังมีค่าสูงขึ้น ลักษณะที่เราพบบ่อย ผิวปากแห้ง ผิวมีแห้งจะต้องทาโลชั่น ในผิวหนังเกิดความชุมชื้น เพราะฉนั้นเมื่อความต้านทานมือสูงค่าใกล้ค่า ฉนวน เมื่อมีปฏิกิริยา เช่น จับ สัมผัส ถูก จะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่มือสูง เมื่อไปจับชิ้นงานที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต จะทำให้เสียหายได้

จึงจำเป็นต้องใส่ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต เพราะถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต กรณีความชื้นจะไม่ส่งผลกระทบ ไม่เกิดไฟฟ้าสถิต จึงทำให้อุปกรณ์ที่ไว ต่อไฟฟ้าสถิตปลอดภัย

  • กรณี เป็นตัวนำ ปกติร่างกายมนุษษ์เรานั้น จะการทดลอง มีค่าความต้านอยู่ในช่วง 650 -750 K Ohms ซึ่งค่าความต้านทานในช่วงนี้ จะส่งผลอะไรต่อชิ้นงาน เมื่อมีการเดิน หรือ เสื้อผ้า และ เส้นผม เกิดไฟฟ้าสถิต อาจจะทำให้ในจุดดังกล่าวที่เกิดไฟฟ้าสถิต ไหลผ่านร่างกาย และ การไหลไฟฟ้าสถิตจะออกไปรวมตัว เช่น ปลายเส้นผม ปลายนิ้ว เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว กรณี ที่ไฟฟ้าสถิตออกไปสะสมที่ปลายนิ้ว เมื่อมีการหยิบ-จับ ชิ้นงานที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต จะส่งผลให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นได้ทันที ชิ้นงานก็ไม่ปลอดภัย

คุณสมบัติ : ลักษณะถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตที่นิยมใช้งาน สำหรับป้องกันไฟฟ้าสถิต พอจะแบ่งออกได้

ดังต่อไปนี้

  • ชนิดถุงมือ CONDUCTIVE Gloves
  • ชนิดถุงมือ DISSIPATIVE Gloves        
  • NITRILE เนื่องจากแล้ว ถุงมือชนิด Nitrile คือถุงมือยาง ผู้เขียนเลยจะให้ดูลักษณะถุงมือย่างแบบอื่นไว้เป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อถุงมือชนิด Nitrile ได้ถูกต้องมากขึ้น

a. Nitrile Examination Gloves

b. Vinly Examination Gloves

c. Latex Examination Gloves

d. Synthetic Examination Gloves

1.5 GARMENT ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิตจากร่างกายคน

ลักษณะ : โดยทั่วไปแล้วชุด Garment หรือ ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิตจะมีทั้งแบบใช้ในห้องครีมรูมเฉพาะอย่างที่เรารู้จักกัน คือชุดสีขาวมีเส้นใยคาร์บอนสีดำ อยู่ในตัวเสื้อ และ บางบริษัทสั่งทำชุดยูนิฟร์อมของบริษัทนั้นๆ ใช้เนื้อผ้าชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตโดยสั่งทำพิเศษ ไม่ได้ใช้เส้นไหม ใยสังเคราะห์ที่สร้างไฟฟ้าสถิตได้มาใช้งาน ก็มี เรามาดูตัวอย่างกันว่า ลักษณะของชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต แบบแรก คือที่ใช้ในห้องครีมรูมเป็นอย่างไร

ตัวอย่างชุดป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ใช้ในห้องครีมรูม ESD Garment

ตัวอย่างชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต ประเภทยูนิฟร์อม สำหรับบริษัทนั้นๆ

คุณสมบัติ : ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิตจะทำจากเนื้อผ้าชนิด Anti-static ซึ่งคุณสมบัติของชนิด Anti-static จะอธิบายได้เข้าใจง่ายๆ คือ ผ้าชนิดนี้จะไม่สร้างไฟฟ้าสถิต หรือ ไม่เกิดไฟฟ้าสถิต แต่เนื่องจากคุณสมบัติชนิด Anti จะไม่เป็นตัวนำที่ดี ดังนั้นในตัวเสื้อจะมีการเพิ่มเส้นใยคาร์บอนเข้าไปเพราะจะทำให้ภายในตัวเสื้อสามารถถ่ายเทไฟฟ้าสถิตผ่านเส้นใยคาร์บอนได้โดยทั่ว ทั้งตัวเสื้อนั่นเอง

ทำไมต้องทำให้ผ้าเป็น Antistatic คือ คุณสมบัติจะไม่เกิดไฟฟ้าสถิต และ หากสวมทับในเสื้อผ้าภายในจะสามารถสร้างไฟฟ้าสถิต ก่อนใส่ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต จะทำให้ไฟฟ้าสถิตภายใน เทถ่ายผ่านชุดได้ช้าลง และ ต้องทำให้มีการถ่ายเทออกไป Eliminate ผ่านเส้นใยคาร์บอนนั่นเอง ด้วยเหตุผลนี้ เมื่อเราทำการตรวจสอบชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต กำหนด < 1.0 x 1011 Ohms

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ผลิตมาจำหน่ายจะมีการใส่เส้นใยคาร์บอนในตัวเสื้อ 2 แบบ ดังนี้

  • แบบเส้นใยคาร์บอนเส้นเดียวแนวตั้ง
  • แบบเส้นใยคาร์บอน แนวนอน และ แนวตั้ง คู่กัน (แบบ Grids)

ตัวอย่างชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต เส้นใยคาร์บอนแบบแนวนอน และ แนวตั้ง คู่กัน กริด

ตัวอย่างชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต เส้นใยคาร์บอนแบบ แนวตั้ง

          นอกเหนือจากความแตกต่างเส้นใยคาร์บอน จะมีการผลิตแบบไม่มี Bonding และ จะมีแบบ Bonding ที่ตัวเสื้อด้วย โดยคุณสมบัติที่ตัวทราบคือ ปลายแขน หนึ่งข้างต้องมีปลอกปลายแขนชนิดตัวนำไว้ด้วย และ มีจุดเชื่อมต่อตัวเสื้อด้วย หนึ่งจุด

ตัวอย่างชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต แบบ Groundable และ ปลายแขนหนึ่งข้างชนิดตัวนำ

การนำไปใช้งาน: การนำไปใช้งาน ผู้เขียนแนะนำให้เลือกซื้อชนิดแบบกริด ด้วยเหตุผลหากเราใช้แบบมีเส้นแนวตั้งแนวเดียว หากเส้นใยคาร์บอนเส้นใดชำรุด ขาด จะทำให้ไฟฟ้าสถิตไม่กระจาย หรือ ถ่ายเทได้โดยรอบตัวเสื้อนั้นเอง การนำไปใช้งานต้องคำนึง การแนะนำการซักล้างให้กับพนักงานด้วยเช่นกัน ผู้เขียนขอแนะนำการซักล้างให้ดังต่อไปนี้ เป็นแนวทาง

  • ห้ามใช้น้ำยาซักผ้าขาวชนิดเข้มข้น (หรือสมัยก่อนเรียกกัน ไอเตอร์) เพราะคุณสมบัติน้ำยาซักผ้าขาวเข้มข้นจะมีปฏิกิริยา ให้เส้นใยคาร์บอนเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ห้ามนำไปรีด ที่ความร้อนสูง หรือ เลี่ยงการรีดจะดีสุด เพราะ ความร้อนจะทำให้เส้นใยคาร์บอนกรอบและทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น

1.6 ANTI-STATIC PACKAGING ชนิดที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตทั่วไปจะสีชมพู

ลักษณะ : โดยทั่วไปแล้วจะเป็นแบบ Packaging ประเภท ถุง, แผ่นกันกระแทก หรือ โฟม เพราะจะต้องใส่ใช้งานที่สัมผัสชิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต หากคุณสมบัติที่เป็นฉนวนทั่วมาใช้งาน ส่งผลให้ไม่ปลอดภัย เพราะวัสดุชนิด Insulator ฉนวนจะสร้างไฟฟ้าสถิตสูงมาก

ตัวอย่าง Anti-Static Packaging (Bag , Bubble and Foam)

คุณสมบัติ : Packaging ป้องกันไฟฟ้าสถิต เป็นสิ่งสำคัญอีกขั้นตอน ถามว่าจะสำคัญอย่างไรนั้น ผู้เขียนจะหยิบยก ในขั้นตอนการใส่ ชิ้นงาน ตัวอย่างเช่น ชิ้นงานที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต คือ PCBA เป็นบร์อดวงจรสำหรับเครื่องผ่าตัด ดังนั้น ชิปไอซีต้องเป็นเทคโนโลยีค่อนข้างจะคุณภาพสูง และ ไวต่อไฟฟ้าสถิตมาก ขณะใส่ชิ้นงานในถุงจะมีการสไลด์ จะเกิดการเสียดสี และ จะเกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่ง เมื่อนำถุงชนิด Anti-static มาใช้จะไม่เกิดไฟฟ้าสถิตสูง เหมือนถุงชนิดฉนวน

คุณสมบัติ Packaging ชนิด Anti-static คือ ตัววัสดุพื้นผิวเมื่อเราทำการทดลอง ถู เสียดสี จะไม่เกิดไฟฟ้าสถิต ตรงชื่อ Anti จะไม่สร้างไฟฟ้าสถิต แต่กลับกัน ตัววัสดุประเภทนี้จะเป็นตัวนำ Low Charge โดยค่าการ Discharge times จะสลายไฟฟ้าสถิตช้า ข้อดีตรงนี้ เช่น หาก Environment รอบๆๆ มีไฟฟ้าสถิตสูง หรือ มาก ซึ่งไฟฟ้าสถิตเหล่านั้นจะผ่านเข้าไปภายใน ที่มีชิ้นงานไวต่อไฟฟ้าสถิตได้น้อย กระแสจะไหลน้อย I=E/R

          จุดเด่น คือ สีชมพู เพราะฉะนั้น Packaging ชนิด Anti-static จะนิยม หรือ ใช้สีชมพูส่วนใหญ่ แต่ถามว่ามีสีอื่นมั้ย ผู้เขียนเอง เคยเจอสีฟ้า หรือ สีใสขุ่นสีเทาจางๆๆ แต่ไม่นิยมให้ จะพบเห็นยากไม่แพร่หลายเหมือนสีชมพู ที่ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้งานกัน ทั่วทุกอุตสาหกรรม ต่างๆ

การนำไปใช้งาน: การนำไปใช้งานส่วนใหญ่จะผลิตออกมาจำหน่าย หลักๆ คือ

  • Anti-Static Bag
  • Anti-Static Bubble
  • Anti-Static Foam

เพื่อใช้เป็นถุง เพื่อป้องกันชิ้นงานจากไฟฟ้าสถิต โดยกำจัดวัสดุชนิดฉนาน Insulator ที่สร้าง

ไฟฟ้าสถิตเยอะมากๆ หรืออีกกรณี ป้องกันความเสียหาย จากการกระแทก ก็จะผลิตแบบ Bubble หรือ Foam ลดการชำรุดเสียหายระหว่างขนส่งสินค้า

1.7 SHIELDING BAG ชิวดิ่งแบลค 

ลักษณะ : โดยทั่วไปแล้วจะจะเป็นสีเงิน หรือ บางคนเรียกถุงฟลอย ซึ่งจะมีทั้งแบบทึก แบบโปร่ง ความต้านทานพื้นผิวจะต่ำ จะมีค่า < 20nJ

ตัวอย่าง Shielding Bag แบบป้องกันไฟฟ้าสถิต

ลักษณะการผลิตนั้น จะมี 3 Layers หรือ 4 Layers ที่ทำมาจำหน่าย ซึ่งพื้นผิวทั้งนอก และ ในจะเป็นตัวนำชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิต ผู้เขียนขอนำตัวอย่างยี่ห้อ 3M มาใช้ประกอยอธิบาย model SCC1000

ตัวอย่าง Shielding Bag ชนิด 4 ชั้น (layers)

ซึ่งตอนนี้ จะมองเห็นว่า ชิ้นงานจะไม่อันตราบ ไฟฟ้าสถิตไม่สามารถ Discharge ทะลุ เข้าไปภายในได้เนื่องจากการผลิต ชั้นกลางจะมีความต้านทานสูงกั้นไว้ จะปลอดภัยต่อชิ้นงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: Shielding bag ป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ผลิตมาจำหน่ายจะมี 2แบบ โปร่ง

และ แบบทึบ ป้องกันไฟฟ้าสถิยทั่วไป และ อีกแบบป้องกัน ความชื้นด้วย

ถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตอีกประเภทหนึ่งคือถุงป้องกันความชื้น (MVB) วัสดุเหล่านี้ป้องกันจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI) เช่นเดียวกับสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ (RFI) และไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำได้โดยหลักโดยใช้ชั้นโลหะที่หนากว่ามาก ซึ่งยับยั้งอัตราการส่งผ่านของไอความชื้น (MVTR) ได้มากกว่าถึง 20 เท่าเมื่อเทียบกับถุงป้องกันทั่วไป

การนำไปใช้งาน: การนำไปใช้งานส่วนใหญ่จะผลิตออกมาจำหน่าย หลักๆ คือ

  • แบบทึบ: ใส่เรียว IC ที่นำไปใช้งานเกี่ยวขบวนผลิต SMT เป็นหลักส่วนใหญ่
  • แบบใส : ใส่ใช้งานทั่วไป ใส่ PCBA, ใส่ HDD เป็นต้น

จะใช้ในขั้นตอนสุดท้าย ใส่สินค้าพร้อมนำไปจำหน่ายใช้งาน ในแต่ละประเภท

ถุงและวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการบรรจุชิ้นส่วนที่ไวต่อไฟฟ้าสถิตซึ่งใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลายคนนึกถึงถุงสีชมพูเมื่อนึกถึงถุงป้องกันไฟฟ้าสถิต ไม่ควรใช้ถุงชมพูป้องกันไฟฟ้าสถิตเป็นบรรจุภัณฑ์เพียงชนิดเดียวในการปกป้อง อุปกรณ์ที่มีความไวสูงๆ จะไม่ปลอดภัย ส่วน Shielding bag วัสดุเองจะไม่สร้างหรือเกิดประจุไทรโบอิเล็กทริกพื้นผิวโดยรอบได้

1.8 FLOORING พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิต

ลักษณะ : พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิต โดยทั่วไปแล้วจะมีทั้งแบบ Coating และ แผ่นปูแบบลายๆ โดยติดตั้งเพื่อป้องกัน การเดิน หรือ รถเข็น ไม่เกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น จะรวบรวมพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตดังนี้

ลักษณะพื้นที่นิยมใช้สำหรับพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตนั้น คือ

ESD Epoxy Coating Floor

ESD Dissipative Floor

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น: พื้น ESD เป็นวัสดุปูพื้น ออกแบบมาเพื่อควบคุมความต้านทานไฟฟ้าของพื้น ซึ่งจะช่วยป้องกันเหตุการณ์การคายประจุไฟฟ้าสถิต (ESD) และยังเหมาะสำหรับการป้องกันจาก ESD

ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในสาเหตุหลักของความเสียหายของอุปกรณ์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต คือการคายประจุไฟฟ้าสถิต (ESD) โดยทั่วไปแล้วเหตุการณ์ ESD จะสร้างประกายไฟ (เอฟเฟกต์ไมโครเรย์) ขณะที่การคายไฟฟ้าสถิตบนตัวนำ (Conductive) ไปยังอีกพื้นผิวอีกที่หนึ่ง

การถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตอย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ (ไม่มีการเคลื่อนไหว ที่สายตามนุษย์จะมองเห็น) นี้สามารถทำให้เกิดไฟไหม้ การระเบิด สร้างความร้อน แสง หรือแม้แต่เสียง นี่คือประกายไฟที่ไม่คาดคิดล่วงหน้าได้เลย ไม่ทราบว่าซึ่งควรหลีกเลี่ยงหรือควบคุมอย่างไรได้ทัน

ในอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือสารเคมีที่ระเหยง่าย ไฟฟ้าสถิตอาจทำให้เกิดความเสียหาย การบาดเจ็บ และการสูญเสียทางการเงินได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนประกอบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานอยู่ทั้งหมด เช่น ไมโครชิป วงจรรวม และเครื่องจักร ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต

เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยงของเหตุการณ์ไฟฟ้าสถิตได้ดีขึ้น เพื่อให้ร่างกายของเราสามารถรับรู้การคายประจุไฟฟ้าสถิตได้ จะต้องมีค่ามากกว่า 3500 โวลต์ อย่างไรก็ตาม การคายประจุเพียง 20 โวลต์อาจทำให้ไม่ทราบ หรือ รู้ได้ เพราะแรงดันต่ำเกินรับรู้ได้ แต่ได้ทำให้อุปกรณ์สำคัญเสียหายได้ นี่คือความสำคัญของการที่จะต้องป้องกัน บรรเทาผลกระทบ ESD ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงก่อนที่เราจะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของเราได้นั่นเอง

การนำไปใช้งาน: พื้น ESD เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ห้องผ่าตัด หรือในสภาพแวดล้อมที่มีการผลิตหรือใช้งานสารเคมีที่ระเหยหรือระเบิดได้ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ที่มีส่วนประกอบย่อยอิเล็กทรอนิกส์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำงานกับวัสดุที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ตัวอย่างทั่วไปของสิ่งนี้คือการผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้าหรือคลีนรูม พื้น ESD ควรเป็นสิ่งจำเป็นในพื้นที่ที่บุคลากรทำงานในการยืนและไม่สามารถใช้สายรัดข้อมือในการสลายไฟฟ้าสถิตได้ (Wrist Strap) หรือ การถ่ายเทไฟฟ้าสถิต สายรัดส้นเท้า หรือรองเท้

ตามวัสดุ – พรม, ไวนิล, กระเบื้องยาง, พื้นอีพ็อกซี่, ยางและพื้นเรซินที่โดยทั่วไปมีสีทึบและตัวเลือกการตกแต่งต่างๆ ทนต่อสารเคมีและการขัดถูได้ดีเยี่ยม รับทราบความแตกต่างระหว่างประเภทพื้น ESD เหล่านี้

ตามวิธีการป้องกันไฟฟ้าสถิต: Conductive Floor & Dissipative Floor ซึ่งกำหนดโดยความเร็วที่กระแสไหลหรือผ่านวัสดุปูพื้น ตัวนำไฟฟ้าหรือชั้น Dissipative หรือ Conductive ความแตกต่างระหว่างพื้นแบบนำไฟฟ้า ดังนั้น ความต้านทานของพื้น ESD ควรอยู่ในช่วง 1.0×105 ถึง 1.0×108 OHMS

Conductive: พื้นที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.0 x 10E4 ถือเป็นตัวนำในย่าน Conductive

Static-Dissipative: พื้นที่มีค่ามากกว่า 1.0 x 10E4 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.0 x 10E11 ถือเป็นตัวนำ

                          ในย่าน Static-Dissipative

ตัวอย่าง ESD Vinyl Flooring Tiles

ตัวอย่าง ESD Anti-Static Epoxy Flooring  

1.9 MOBILE EQUIPMENT รถเข็นใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายชิ้นงานในขบวนการผลิต

ลักษณะ : รถเข็นที่ได้มาตรฐานนั้น ผู้เขียนต้องอธิบายโดยละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในลักษณะที่ถูกต้อง เริ่มที่พื้นรถเข็น ไม่ว่าจะเป็นแบบ 1ชั้น, 2ชั้น, 3ชั้น หรืออาจจะมีมากกว่า ถึง 6ชั้น ก็ดีตามการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม พื้นรถเข็นสำหรับวางชิ้นงานจะไม่เป็นฉนวน คือ PVC พลาสติก หรือ ไม้ต่างๆ เพราะพื้นที่เป็นชนิดฉนวนจะเป็น และ โครงเป็นโลหะที่ไม่ใช่พลาสติก ด้วย ถัดไป ล้อจะเป็นชนิด ESD Safe ชนิด Conductive หรือ Dissipative และสุดท้ายจะต้องมีการ Bonding Ground ซึ่งอ้างอิง Level 2 คือการต่อโซ่นั่นเอง ต้องทำความเข้าก่อน ล้อ ESD ไม่ใช่ Ground ล้อคือ อุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนที่สำหรับรถเข็น อุปกรณ์ที่ถูกต้อง ถูกชนิดที่เป็น Ground คือ โซ่

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น : รถเข็นชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ผลิตใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตมีหลายชนิดมากๆ แต่ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างที่ใช้งานกันหลักๆ กันแบบชั้นเดียว แบบ 2ชั้น และ 3ชั้น อย่างแพร่หลายดังต่อไปนี้

 ตัวอย่าง รถเข็นชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตแบบ 1ชั้น

 ตัวอย่าง รถเข็นมากกว่า 1ชั้น และ ที่ใช้สำหรับใส่บร์อด PCBA

การนำไปใช้งาน: รถเข็นถือว่าอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการเคลื่อนย้ายชิ้นงานในขบวนการผลิตอย่างมาก ดังนั้น หากโรงงานอุตสาหกรรมใช้รถเข็นที่ผิดชนิด รถเข็นที่ไม่ใช่ ชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิต เมื่อนำมาใช้ อุปกรณ์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิตจะไม่ป้องกัน เพราะรถเข็นประเภทนั้นล้อจะเป็นฉนวน ขณะเข็นในขบวนการผลิต ล้อจะเฉียดสีกับพื้น ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าสถิตสูง และกระจายไปทั่วโครงและพื้นบนรถเข็น เมื่อใช้งานจะไม่ปลอดภัยกับ ESD Sensitive Device ดังนั้นผู้เขียนแนะนำรถเข็นที่ดี ต้องตรงกับลักษณะที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นดังนี้

  • พื้นรถเข็นสำหรับวางชิ้นงานจะไม่เป็นฉนวน (หากปูพื้น ESD MAT ต้องมี Bonding ด้วยทุกชั้น และ มี Common Ground Point ด้วย)
  • โครงเป็นโลหะที่ไม่ใช่พลาสติก
  • ล้อทั้ง 4ล้อ ชนิด ESD Safe
  • Bonding Ground ต่อโซ่

1.10 IONIZER  เครื่องสลายประจุไฟฟ้าสถิย หรือ การ Eliminate ESD บนผิวฉนวน

ลักษณะ : เครื่องสลายไฟฟ้าสถิตลักษณะมีหลายประเภท เช่น

  • แบบวางตั้งโต๊ะแบบมีพัดลม 1 ช่อง
  • แบบติดวางแขวนไว้บนโต๊ะ Overhead จะมีความยาวระหว่าง 80cm to 120cm
  • แบบ Nozzle
  • แบบ Air Gun

จะมีองค์ประกอบภายใน จะมีเข็มต่อไว้ปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต ประจุลบ และ ประจุบวก และ จะมีแบบใส่

พัดลมภายในด้วย และ แบบชนิด Nozzle หรือ Air Gun ประเภทนี้จะต่อท่อลมในขบวนการผลิตกับตัว Ionizer เพื่อใช้ลมเป่าไปที่ผิวฉนวน และ จะมีประจุออกไปด้วยตลอดเวลาที่เครื่องทำงาน

กรรมวิธีการผลิตมาใช้งานนั้น : โดยทั่วไปแล้วการผลิตออกมาจำหน่ายจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลักๆ

คือ แบบ DC และ แบบ AC ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ใช้การเหมือนกัน สลายไฟฟ้าสถิตแต่หลักการปล่อยประจุจะแตกต่างกันดังนี้

  • แบบ DC หัวเข็มจะปล่อยประจุบวก และ ประจุลบ พร้อมๆกัน โดยทางผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อนั้นจะทำการ Fixed หัวเข็มไว้เลย หัวเข็มใหนปล่อยประจุลบ และ หัวเข็มใหนปล่อยประจุบวก และเครื่องที่สร้างประจุทั้งคู่จะปล่อยออกมาพร้อมกัน ตลอดการใช้งาน ที่พนักงานเปิดเครื่องใช้งาน
  • แบบ AC หัวเข็มจะปล่อยประจุพร้อมกันทุกหัว ตามเฟสที่ช่วงเวลา เช่น เฟสบวกจะปล่อยประจุบวกออกมาทุกหัวเข็ม และ เมื่อถึงเฟสลบ ก็จะปล่อยประจุลบออกมาทุกหัวเข็ม การปล่อยประจุจะสลับตามเฟส ช่วงเวลาที่กำหนดไว้

ดังนั้น Ionizer ชนิด AC การสลายไฟฟ้าสถิต หรือ Discharge time จะช้ากว่าแบบ DC เนื่องจากประจุที่ออกมาจะสลับกันปล่อย แต่แบบ DC จะปล่อยออกมาเลยพร้อมกันทั้ง ลบ และ บวก ทำให้ช่วงเวลา Discharge time จะเร็วกว่าสลายไฟฟ้าสถิตได้เร็วกว่า ดังนั้น อุตสาหกรรมที่มี ESD Sensitive Device สูงๆมักจะใช้ Ionizer แบบ DC เป็นส่วนใหญ่  

ตัวอย่าง แบบวางตั้งโต๊ะ 1 ช่อง และ Overhead จะมีความยาวระหว่าง 80cm to 120cm

 ตัวอย่าง แบบ Nozzle

ตัวอย่าง แบบ Air Gun

การนำไปใช้งาน: การนำ Ionizer ไปใช้งานสลายไฟฟ้าสถิตบนพื้นผิวของฉนวนและ อาจจะนำไปสลายโฟกัสไปที่ตัวชิ้นงานที่ไวต่อไฟฟ้าสถิตก็ได้เช่น เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตที่อยู่บริเวณรอบๆ Discharge ไปที่ชิ้นงาน ESD Sensitive Device การติดตั้งก็สำคัญอย่างมาก หากติดตั้งผิด ส่งผลให้ Ionizer ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ การป้องกันไม่ดี ส่งผลให้ ESD Sensitive Device ไม่ปลอดภัยตามไปด้วย ผู้จะแนะนำวิธีการติดตั้งที่ถูกต้อง โดยยังไม่ต้องยึดติดก่อน เมื่อทำตามขั้นตอนนี้แล้ว ถึงจะยึดติดได้ คือ

  • เมื่อรู้ระยะวางแล้ว ให้หัน Ionizer ไปตำแหน่งที่การ เราจะทำการตั้งระยะที่ถูกต้องการ วัดค่า Discharge time จาก 1,000Volts to 100Volts ทั้งประจุบวก และ ประจุลบ
  • เมื่อระยะ ได้ ให้ทำการ วัดค่า Offset ต้องไม่เกิน +/- 35Volts

หลังจากตรวจสอบทั้ง 2 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติ คือ การกำหนดค่าความแรงของพัดลม ทั้งแบบหมุน านะล๊อค จะหมุนปรับความแรงของลม หมุนไว้ตำแหน่งใดให้ทำเครื่องหมายไว้ หรือ แบบดิจิตอลความแรงลมที่เลขใดก็ให้จดบันทึกไว้เช่นกัน และ สุดท้ายให้ล็อคตำแหน่งหันไปทิศทางใดด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดนั่นเอง 

ไฟฟ้าสถิต ในอุตสาหกรรม

ไฟฟ้าสถิต คือ วัตถุชิ้นหนึ่งๆ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากมาย

โครงสร้างของอะตอม

  • อนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่าโปรตอน
  • อนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน
  • อนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอนจะอยู้วงนอก

ดังนั้นนิวเคลียส 1 นิวเคลียสซึ่งประกอบด้วย โปรตอนและนิวตรอนจับกัน

กรณีตรวจวัด ไฟฟ้าสถิตพื้นผิววัตถุต่างๆ แล้วได้ค่าดังนี้

  1. เมื่อวัดไฟฟ้าสถิตจากเครื่อง Static Sensor Meter ได้ไฟฟ้าสถิตประจุลบ (-) คือ การแตกตัวออกมาของ อิเล็กตรอน
  2. เมื่อวัดไฟฟ้าสถิตจากเครื่อง Static Sensor Meter ได้ไฟฟ้าสถิตประจุบวก (+) คือ การแตกตัวออกมาของ นิวเคลียส และ วัดได้ โปรตอน

ดังนั้นไฟฟ้าสถิตที่ใกล้ตัวเรา อาทิเช่น ในชีวิตประจำวันมนุษย์เราจะมีไฟฟ้าสถิตที่ ร่างกายปกติทุกวัน เสื้อผ้า ผิวหนัง เส้นผม และ รองเท้าเป็นต้น

อุตสาหกรรมอิเล็ทรอนิกส์ และ ยานยนต์ ไฟฟ้าสถิตเกิดโทษ
ในงานอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไฟฟ้าสถิตจะส่งผลกระทบ ต่ออุปกรณ์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต (ESD: Electrostatic Discharge) จะเปราะบางมาก
และ ไฟฟ้าสถิต จะทำให้เสียหายได้ เกิดการไหม้ที่ตัว Die IC หรือ ตัวประมวลผล หรืออาจจะมีการใส่โปรแกรมเข้าไปก็มีเช่นกัน และ วงการ Hard Disk (HD)

อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าสถิตเกิดประโยนช์
แต่อีกฝังอุตสาหกรรม อาจจะนำไฟฟ้าสถิยไปใช้ประโยชน์ก็มี เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) จะใช้ในขั้นตอน การพ่นสีตังถังรถ โดยใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดประจุต่างกัน
นำมาใช้ให้เกิดขบวนการ ยึดติดของสี ได้แน่น และ ทนทานสูง

สอนใจฝึกอบรม หลักสูตร ไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Discharge) สามารถเข้าไปจองวันอบรมได้ในเมนู “Training Course”

ผู้เรียบเรียงเนื้อหา และ นำเสนอโดย

AJ.Pitisak Limthai

เว็บไซต์แนะนำ:

ESDCD: ESDDevelopmentconsultant.com

(nam myoho renge kyo)

You cannot copy content of this page